วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

 เครื่องค้้นกะทิ



เคื่องคั้นกะทิแบบมือหมุน
     ตัวเครื่องทำจากเหล็ก สามารถถอดออกทำความสะอาดได้ 

วิธีใช้
1. วางกะทิลงในปล่องถาดที่วางไว้
2. ค่อยๆหมุนด้ามให้แป้นกดใน่น้ำออกมา
3. พอได้น้ำกะทิแล้ว ยกออกมาใส่ถุงตามที่ต้องการ

ประโยชน์
1. มีความสะดวกสบาย
2. ขึ้นน้ำกะทิได้อย่างรวดเร็ว
3. ได้ปริมาณน้ำกะทิที่มากกว่า
4. สามารถต่อยอดทำธุรกิจได้




วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ชิ้นงานประดิษฐ์

 ถังขยะ เปิด-ปิด อัตโนมัติ


วัสดุอุปกรณ์
- ถังขยะแบบฝา เปิด / ปิด ขนาดเล็ก
- Arduino Nano  จำนวน 1 บอร์ด
- Sensor IR ตรวจจับวัตถุ จำนวน 1 บอร์ด
- Protoboard 400 pin จำนวน 1 บอร์ด
- Servo MG996  จำนวน 1 ตัว
- แบตเตอรี่ 18650 จำนวน 2 ก้อน
- รางถ่าน 18650 แบบ 2 ก้อน 1 ชิ้น




วิธีการต่อวงจร







วัตถุประสงค์
1 เพื่อสร้างถังขยะเปิด-ปิดอัตโนมัติควบคุมด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว 
2 เพื่อศึกษาเทคโนโลยีเครือข่ายเซ็นเซอร์และการควบคุมอัตโนมัติ 
3 เพื่อประยุกต์และน าความรู้ที่ได้เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 
4 เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มบุคคลหรือพนักงานออฟฟิศ 
5 เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่เกิดจากการสัมผัสถังขยะ

ประโยชน์ของชิ้นงาน
1 ได้ระบบเปิด-ปิด ถังขยะอัตโนมัติด้วยเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว
2 เพิ่มความสะดวกสบายต่อการใช้งานในแต่ละวัน
3 สามารถประยุกต์สิ่งของที่มีให้มีความทันสมัยขึ้น
4 ป้องกันเชื้อโรคจากถังขยะ

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

 1.ระบบสายพาน

บริษัท Daifuku (Thailand) Ltd.


     สายพานลำเลียง Daifuka สามารถออกแบบการจัดเรียงได้หลายรูปแบบ เพื่อให้เหมาะแก่การจัดส่งและการผลิต ระบบลำเลียงสายพานที่นี่สินค้าหรือวัสดุจะไม่ได้รับความเสียหายอย่างแน่นอน ด้วยระบบสายพานที่มีประสิทธิภาพ
     ระบบสายพานลำเลียง ของไดฟุกิ มี 4 ประเภท
1.ระบบสายพานแบบไร้โซ่ “ระบบขับเคลื่อนอิสระ”


2.สายพานลำเลียง เครื่องคัดแยกแบบถาดเอียง


3.ระบบสายพานแบบใช้โซ่


4.ระบบสายพานลำเลียงถาดขนส่งสัมภาระ









บริษัท คอนเวย์ ดีเทค จำกัด


     ที่นี่คุณสามรถกำหนดสเปคและแบบ ระบบสายพานลำเลียงตามที่คุณต้องการได้เลย ที่นี่มีความพิเศษคือคุณสามรถเยี่ยมชมภาพตัวอย่างเพราะที่นี่ได้แบ่งเอาไว้เป็นหมวดหมู่ พร้อมด้วยรหัสอ้างอิงสะดวกสบายต่อลูกคุณ ที่นี่ยังมีอะไหล่สำหรับการซ่อมแซมที่หลากหลายชนิดอีกด้วย
    ระบบสายพานลำเลียง ของคอนเวย์ มีดังนี้ 
1. ระบบสายพานลำเลียง Belt Conveyor


2. ระบบสายพานลำเลียง Mini Belt Conveyor



3. ระบบสายพานลำเลียง Rubber Belt Conveyor



4. ระบบสายพานลำเลียง Roller Conveyor


5. ระบบสายพานลำเลียง Top Chain Conveyor


6. ระบบสายพานลำเลียง Wire Mesh Conveyor


7. ระบบสายพานลำเลียง Modular Belt Conveyor



8. ระบบสายพานลำเลียง Overhead Conveyor









2.ระบบขนส่งอัตโนมัติ (AGV)

บริษัท อรรถพงษ์-ณัฐพร วิศวกรรม จำกัด



รถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ ไร้คนขับ


     พาหนะลำเลียงสินค้าหรืออุปกรณ์แบบอัตโนมัติ ไร้คนขับ นำทางโดยใช้ แถบแม่เหล็ก หรือเลเซอร์ มักใช้สำหรับการจัดการและกระบวนการผลิตทั้งหมดที่จำเป็นต้องมีการจัดการ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์, คลังสินค้าและโลจิสติกส์, อุตสาหกรรม 3C, โรงงานกระดาษ, โรงงานแบตเตอร์รี่, คลังสินค้าสามมิติ, อุตสาหกรรมไฟฟ้าโซล่าเซลล์และอื่นๆ มีระบบการจัดการด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ตระหนักถึงการใช้งานอย่างรวดเร็วของการขนส่งอัตโนมัติ ประหยัดค่าใช้จ่ายแรงงานและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ระบบปฏิบัติการประกอบด้วยขั้นเครือข่าย(Network Layer ), ขั้นซอฟต์แวร์(Software layer)และชั้นอุปกรณ์(Equipment Layer)
   
Network layer
ชั้นเครือข่าย LAN ตั้งค่าโดยสวิตซ์และ AP ไร้สายหลายตัวเพื่อให้วิธีการสื่อสารสำหรับระบบแผนกทั้งหมดในระบบสื่อสารกันและกันไร้สาย

Software layer
ขั้นซอฟต์แวร์ประกอบด้วยระบบการจัดการการผลิต(WMS,ERP และอื่นๆ) และระบบตั้งเวลากลาง ระบบการจัดการรับผิดชอบการจัดการงานผลิตและระบบการจัดตารางเวลา AGV เพื่อดำเนินการจัดการตามข้อมูลงานและวัสดุ

Equipment
อุปกรณ์ รวมทั้งเลเซอร์ AGV forklift , Call box ,IO Box ฯลฯ ผ่านการสื่อสารไร้สายกับซอฟต์แวร์ระบบควบคุม เพื่อจัดการปุ่มเรียก (Call box), เซ็นเซอร์ที่ใช้ในระบบต่อเข้ากับ IO box เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ และนำข้อมูลอุปกรณ์ไปใช้กำหมดเงื่อนไขตามลักษณะงาน

AGV ของเราใช้ Laser navigation ในการนำทางร่วมกับ LIDA เพื่อประสิทธิ์ภาพในการนำทางที่ดีมากขึ้น Laser navigation forklift AGV navigation ใช้ระบบนำทางและตำแหน่งที่ประมวลผลด้วยตนเองด้วย Motion controller เพื่อให้ได้ความแม่นยำในการทำงานระดับความผิดพลาด 10 มม. AGV forklift เป็นรถโฟคลิฟต์ที่ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า เราทำการติดตั้งกล่องควบคุมเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อช่วยในการควบคุมรถด้วยโปรแกรมของเราเองและระบบความปลอดภัยป้องกันการชนได้หลายรูปแบบ โดยใช้ระบบกลไกเลเซอร์เป็นตัวควบคุมป้องกันการชนในรูปแบบต่างๆ โดยเกิดจากการทำงานของเครือข่ายไร้สายของ AGV เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ แล้วควบคุมการทำงานด้วยตัวเองและรับคำสั่งของมนุษย์ผ่านคอมพิวเตอร์


Laser navigation(reflector) นำทาง AGV โดยการวัดมุมและระยะทางไปยังจุดสังเกตหลัก (ตัวสะท้อนแสง(reflector)) ตัวสะท้อนแสง(reflector) จะติดตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่ทำงานของ AGV และแผนที่ก็จะถูกสร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลของเลเซอร์เซ็นเซอร์ที่ตกกระทบกับตัวสะท้อนแสง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะตัวเพิ่มความแม่นยำของตำแหน่งและการควบคุมการเคลื่อนที่ของ AGV

Natural navigation นำทาง AGV โดยใช้สภาพแวดล้อมของพื้นที่
เราได้ทำการพัฒนาระบบการนำทางโดยทางสแกนข้อมูลสภาพแวดล้อมผ่านเซ็นเซอร์เลเซอร์เพื่อสร้างแผนที่สภาพแวดล้อม ในขณะที่ AGV กำลังทำงานข้อมูลแบบเรียลไทม์ของสภาพแวดล้อมที่ได้รับจากการสแกนแบบเรียลไทม์ แล้ว AGV จะนำข้อมูลแบบเรียลไทม์นั้นมาจับคู่กับข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่เพื่อเพิ่มความแน่มยำในการทำงาน และจะนำข้อมูลมาควบคุมการทำงานของ AGV แบบอัตโนมัติตามเส้นทางที่กำหนด
** Natural navigation จะทำการสแกนสภาพแวดล้อม ผนัง เสา เครื่องจักรและวัตถุคงที่อื่นๆ ในระนาบเดียวกัน



Position update

การอัตเดตตำแหน่งซึ่งเกิดจากการทำงานร่วมกันของระบบนำทางระหว่าง Laser navigation และ Natural navigation ตามสภาพแวดล้อม

การคำนวนระยะเวลาของตำแหน่งยานพาหนะ
การติดตามการเคลื่อนไหวของยานพาหนะโดยอ้างอิงจาก odometry (ข้อมูลตัวเข้ารหัส)
กำลังอัปเดตตำแหน่งด้วยการวัดสภาพแวดล้อม
การอัตเดตเกิดขึ้นทั้งโหมดอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ

Menu
Youtube
 Facebook
 Line
AGV (Automated Guided Vehicle)
รถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติ ไร้คนขับ

รับออกแบบผลิตติดตั้งระบบรถ AGV ในการผลิตทุกอุตสาหกรรม
สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติม


Previous
Next
AGV (Automated Guided Vehicle)
AGV (Automated Guided Vehicle) คือพาหนะลำเลียงสินค้าหรืออุปกรณ์แบบอัตโนมัติ ไร้คนขับ นำทางโดยใช้ แถบแม่เหล็ก หรือเลเซอร์ มักใช้สำหรับการจัดการและกระบวนการผลิตทั้งหมดที่จำเป็นต้องมีการจัดการ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์, คลังสินค้าและโลจิสติกส์, อุตสาหกรรม 3C, โรงงานกระดาษ, โรงงานแบตเตอร์รี่, คลังสินค้าสามมิติ, อุตสาหกรรมไฟฟ้าโซล่าเซลล์และอื่นๆ มีระบบการจัดการด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ตระหนักถึงการใช้งานอย่างรวดเร็วของการขนส่งอัตโนมัติ ประหยัดค่าใช้จ่ายแรงงานและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ระบบปฏิบัติการประกอบด้วยขั้นเครือข่าย(Network Layer ), ขั้นซอฟต์แวร์(Software layer)และชั้นอุปกรณ์(Equipment Layer)


Network layer
ชั้นเครือข่าย LAN ตั้งค่าโดยสวิตซ์และ AP ไร้สายหลายตัวเพื่อให้วิธีการสื่อสารสำหรับระบบแผนกทั้งหมดในระบบสื่อสารกันและกันไร้สาย

Software layer
ขั้นซอฟต์แวร์ประกอบด้วยระบบการจัดการการผลิต(WMS,ERP และอื่นๆ) และระบบตั้งเวลากลาง ระบบการจัดการรับผิดชอบการจัดการงานผลิตและระบบการจัดตารางเวลา AGV เพื่อดำเนินการจัดการตามข้อมูลงานและวัสดุ

Equipment
อุปกรณ์ รวมทั้งเลเซอร์ AGV forklift , Call box ,IO Box ฯลฯ ผ่านการสื่อสารไร้สายกับซอฟต์แวร์ระบบควบคุม เพื่อจัดการปุ่มเรียก (Call box), เซ็นเซอร์ที่ใช้ในระบบต่อเข้ากับ IO box เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับระบบ และนำข้อมูลอุปกรณ์ไปใช้กำหมดเงื่อนไขตามลักษณะงาน

AGV ของเราใช้ Laser navigation ในการนำทางร่วมกับ LIDA เพื่อประสิทธิ์ภาพในการนำทางที่ดีมากขึ้น Laser navigation forklift AGV navigation ใช้ระบบนำทางและตำแหน่งที่ประมวลผลด้วยตนเองด้วย Motion controller เพื่อให้ได้ความแม่นยำในการทำงานระดับความผิดพลาด 10 มม. AGV forklift เป็นรถโฟคลิฟต์ที่ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า เราทำการติดตั้งกล่องควบคุมเพิ่มเติมเข้าไปเพื่อช่วยในการควบคุมรถด้วยโปรแกรมของเราเองและระบบความปลอดภัยป้องกันการชนได้หลายรูปแบบ โดยใช้ระบบกลไกเลเซอร์เป็นตัวควบคุมป้องกันการชนในรูปแบบต่างๆ โดยเกิดจากการทำงานของเครือข่ายไร้สายของ AGV เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ แล้วควบคุมการทำงานด้วยตัวเองและรับคำสั่งของมนุษย์ผ่านคอมพิวเตอร์

Laser navigation(reflector) นำทาง AGV โดยการวัดมุมและระยะทางไปยังจุดสังเกตหลัก (ตัวสะท้อนแสง(reflector)) ตัวสะท้อนแสง(reflector) จะติดตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่ทำงานของ AGV และแผนที่ก็จะถูกสร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลของเลเซอร์เซ็นเซอร์ที่ตกกระทบกับตัวสะท้อนแสง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะตัวเพิ่มความแม่นยำของตำแหน่งและการควบคุมการเคลื่อนที่ของ AGV

Natural navigation นำทาง AGV โดยใช้สภาพแวดล้อมของพื้นที่
เราได้ทำการพัฒนาระบบการนำทางโดยทางสแกนข้อมูลสภาพแวดล้อมผ่านเซ็นเซอร์เลเซอร์เพื่อสร้างแผนที่สภาพแวดล้อม ในขณะที่ AGV กำลังทำงานข้อมูลแบบเรียลไทม์ของสภาพแวดล้อมที่ได้รับจากการสแกนแบบเรียลไทม์ แล้ว AGV จะนำข้อมูลแบบเรียลไทม์นั้นมาจับคู่กับข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่เพื่อเพิ่มความแน่มยำในการทำงาน และจะนำข้อมูลมาควบคุมการทำงานของ AGV แบบอัตโนมัติตามเส้นทางที่กำหนด
** Natural navigation จะทำการสแกนสภาพแวดล้อม ผนัง เสา เครื่องจักรและวัตถุคงที่อื่นๆ ในระนาบเดียวกัน





Position update

การอัตเดตตำแหน่งซึ่งเกิดจากการทำงานร่วมกันของระบบนำทางระหว่าง Laser navigation และ Natural navigation ตามสภาพแวดล้อม

การคำนวนระยะเวลาของตำแหน่งยานพาหนะ
การติดตามการเคลื่อนไหวของยานพาหนะโดยอ้างอิงจาก odometry (ข้อมูลตัวเข้ารหัส)
กำลังอัปเดตตำแหน่งด้วยการวัดสภาพแวดล้อม
การอัตเดตเกิดขึ้นทั้งโหมดอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ




ความปลอดภัย (Safety)
จะมีเซ็นเซอร์ป้องกันการชนอยู่สามแบบเพื่อให้ครอบคุม 360 องศาของ AGV

Laser anti-collision จะป้องกันด้านหน้าและด้านหลังของ AGV ลักษณะการทำงานจะตรวจจับเป็นรัศมีสามารถปรับเพิ่มลดระยะการตรวจจับเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้และจะสามารถกำหนดโซนการตรวจจับ(เหลือง ส้ม แดง) เหลืองชะรอความเร็ว ส้มชะรอเพื่อหยุด แดงหยุด




Photoelectric anti-collision
เป็นโฟโต้อิเล็กทริกเซ็นเซอร์ติดตั้งอยู่ที่แขนของ AGV forklift เพื่อป้องกันไม่ให้ชนสิ้นค้าซึ่งจะทำให้สินค้าเสียหายสามารถปรับระยะการตรวจจับได้

Mechanical anti-collision
AGV นั้นจะถูกล้อมรอบด้วยแถบป้องกันการชนเพื่อการป้องกันชั้นที่สอง หากการป้องกันจากส่วนอื่นล้มแหลว การทำงานเชิงกลเมื่อสัมผัสกับสิ่งกีดขวาง AGV จะหยุดทันที







วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

หุ่นยนต์(Robot)

หุ่นยนต์ (ROBOT)

 1.หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสหกรรม

หุ่นยนต์อเนกประสงค์

หุ่นยนต์อเนกประสงค์ในโรงงานโดยส่วนมากจะถูกพัฒนามาเป็น “แขน” หุ่นยนต์เป็นหลัก ทั้งเพื่อหยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่นแล้ว ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทำงานอื่นๆ เช่น การประกอบชิ้นงานละเอียด งานตรวจสอบต่างๆ

โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์อเนกประสงค์จะถูกสร้างมาเพื่อสามารถใช้งานในพื้นที่จำกัดได้ดี น้ำหนักเบา ทนต่อสภาพแวดล้อม เช่นหุ่นยนต์ Nachi MZ07 ที่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย และทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยึ่น ตัวเครื่องป้องกันฝุ่นและหยดน้ำเหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่แคบ ยิ่งไปกว่านั้นยังรองรับการทำงานระบบ Automation ทำให้ง่ายต่อการออกคำสั่งแม้ว่าจะเป็นงานละเอียดขนาดไหนก็ตาม

หุ่นยนต์อเนกประสงค์



2.หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์หรือสัตว์

อาซิโม (ASIMO)
อาซิโม (อังกฤษ: ASIMO) (ญี่ปุ่น: アシモ โรมาจิ: ashimo) คือหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ หรือหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ของบริษัทฮอนด้า ประเทศญี่ปุ่น สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 พัฒนาโดยทีมวิศวกรเยอรมนี โดยพัฒนาจากหุ่นยนต์ทดลองและหุ่นยนต์ต้นแบบจนทำให้มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เทคโนโลยี i-WALK ช่วยให้อาซิโมสามารถเดินและวิ่งได้อย่างอิสรเสรี ขึ้นบันไดและเต้นรำได้ มีระบบบันทึกเสียงเพื่อตอบสนองคำสั่งของมนุษย์ สามารถจดจำใบหน้าคู่สนทนาได้อย่างแม่นยำ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเพื่อให้อาซิโมมีขีดความสามารถรอบด้าน และรองรับความต้องการของมนุษย์ในอนาคต
     ฮอนด้าเปิดตัวอาซิโมสู่สายตาสาธารณชนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543[8] มีส่วนสูง 120 เซนติเมตร น้ำหนัก 52 กิโลกรัม ถ้านำเอาอาซิโมมาเปรียบเทียบกับหุ่นยนต์ต้นแบบ P3 หุ่นยนต์ต้นแบบและหุ่นยนต์ทดลองตัวอื่น ๆ แล้ว จะเห็นว่าอาซิโมมีขนาดเล็กกะทัดรัดกว่ามาก ทั้งยังเคลื่อนตัวได้อย่างคล่องแคล่ว มีการทรงตัวที่ดี โครงสร้างภายนอกสวยงาม ทั้งหมดแสดงถึงการออกแบบอย่างละเอียดถี่ถ้วนและรอบคอบ

รูปลักษณ์ภายนอกของหุ่นยนต์มีผลกระทบโดยตรงต่อความรู้สึกของมนุษย์ หุ่นยนต์ที่เต็มไปด้วยสายไฟระโยงระยางหรือเป็นกล่องสี่เหลี่ยมที่เคลื่อนไหวได้ อาจทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกไม่ดีจนไม่อยากเข้าใกล้ ทีมวิศวกรตระหนักถึงเหตุผลสำคัญเชิงจิตวิทยาเป็นอย่างดี จึงออกแบบอาซิโมให้มีรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูดี สวยงามใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด และสิ่งสำคัญในการออกแบบหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ก็คือส่วนสูง เพราะระดับสายตาการมองเห็นของอาซิโมจะมองเห็นได้ในระดับเดียวกับที่คนเรานั่งอยู่ ซึ่งทำให้การปฏิบัติงานของอาซิโม เช่น ยกของ เปิด/ปิดสวิตช์ไฟ หมุนลูกบิดเปิด-ปิดประตู จนไปถึงการให้ความช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ บริเวณโต๊ะคอมพิวเตอร์ สามารถทำได้เป็นอย่างดี
หุ่นยนต์อาซิโม





3.หุ่นยนต์ที่ใช้ทางการแพทย์หรือการทหาร
หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
     การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ทำให้กระบวนการผ่าตัดที่มีความสลับซับซ้อนหรืออยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงยากทำได้อย่างแม่นยำ ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด
     ระบบของหุ่นยนต์ดาวินชี ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ
- ตัวหุ่นยนต์อยู่ข้างคนไข้ ทำการผ่าตัดเลียนแบบการเคลื่อนไหวของมือศัลยแพทย์ที่ควบคุมสั่งการอยู่ที่ console หุ่นยนต์นี้ประกอบด้วยแขนกล 4 แขน แขนที่1 ใช้ในการถือกล้องเพื่อส่งภาพอวัยวะภายในของผู้ป่วยออกมายังจอภาพของเครื่องสั่งการ (console)ให้ศัลยแพทย์เห็นเป็นภาพขยาย 3 มิติที่มีความลึกและคมชัด สามารถมองเห็นรายละเอียดต่างๆ ของอวัยวะภายในร่างกาย รวมถึงเนื้อเยื่อและเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน แขนที่เหลืออีก 3 แขนก็ใช้ในการถือเครื่องมือหุ่นยนต์ที่มีข้อมือกล (wristed instruments) ที่สามารถหมุนและโค้งงอเครื่องมือได้ถึงเจ็ดทิศทาง จึงให้การเคลื่อนไหวของเครื่องมือหุ่นยนต์ทำได้เหมือนมือมนุษย์ แต่จะละเอียดและราบรื่นกว่าด้วยการช่วยเหลือปรับปรุงสัญญานโดยคอมพิวเตอร์

- ชุดควบคุมหรือสั่งการ (console) เป็นตำแหน่งที่ศัลยแพทย์นั่งควบคุมการผ่าตัดผ่านจอภาพ 3 มิติ ระหว่างการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะนั่งประจำที่ console ทำการผ่าตัดโดยใช้ทั้งสองมือควบคุมเคลื่อนไหวก้านกลเหมือนผ่าตัดปกติ ระบบจะถ่ายทอดสัญญาณการเคลื่อนไหวจากมือศัลยแพทย์ไปยังแขนกลของหุ่นยนต์ที่ทำการผ่าตัดภายในร่างกายของผู้ป่วยเลียนแบบการเคลื่อนไหวของศัลยแพทย์

- คอมพิวเตอร์คอนโทรลทาวเวอร์ (Computer Control Tower) เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยควบคุม วิเคราะห์ และกรองข้อมูลสัญญานไปมาระหว่างหุ่นยนต์กับศัลยแพทย์
หุ่นยนต์ผ่าตัด




4.หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด
หุ่นยนต์กู้วัตถุระเบิดแบบพกพา” (Portable Rescue Robot : PRR)
     โดยการออกแบบโครงสร้างที่แข็งแรงและใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา คงทนสูง ด้วยน้ำหนักประมาณ 26 กิโลกรัม ผู้ใช้สามารถพกพาโดยการสะพายหลังหรือยกเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่ได้อย่างคล่องตัว
ส่วนล้อเป็นตีนตะขาบสำหรับใช้งานบนพื้นผิวขรุขระ และติดตั้งแขนกล 5 แกนอิสระพลังสูง สามารถเคลื่อนย้าย สอดส่องวัตถุต้องสงสัย เปิดประตูรถยนต์ได้คล่องตัว อีกทั้งสามารติดตั้งปรับเลี่ยนอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องรบกวนสัญญาณโทรศัพท์ ปืนตัดวงจรระเบิดด้วยแรงดันน้ำ
     นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยอยู่ในตัวหุ่น เช่น ระบบควบคุมด้วยสัญญาณดิจิตอลที่ประมวลผลโดยไมโครคอนโทรเลอร์ขนาดเล็กและคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา ช่องทางการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย ที่สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบเชื่อมสายและไร้สาย กล้องความละเอียดสูงที่มีเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลและแสดงผลภาพอย่างต่อเนื่อง เซ็นเซอร์วัดระยะ ไฟสปอตไลท์ความสว่างสูงสำหรับการใช้งานในกลางคืน พร้อมกล่องควบคุมที่ออกแบบให้พกพาง่าย ทนทาน และสามารถซ่อมบำรุงได้ 
      ระบบขับเคลื่อนโดยใช้ล้อสายพานแบบ Differential Track Wheels มีระบบป้องกันการลื่นไถลขณะปีนป่าย กล้องความละเอียดสูง 1920x1080 สามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืน (ความสว่าง 0 lux) ในระยะ 15 เมตร ความเร็วสูงสุด 15 กิโลเมตร/ชั่วโมง
รับ-ส่งสัญญาณควบคุมระหว่างสถานีควบคุมกับตัวหุ่นยนต์แบบไร้สาย ผ่านระบบ Wi-Max ที่ความถี่ปรับแต่งได้ตั้งแต่ 4-6 GHz มีระบบป้องกันการส่งข้อมูลผิดพลาด ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ขนาด 28 โวลต์ 16.8 แอมแปร์ ติดตั้งระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ ระยะเวลาปฏิบัติงานปกติ 2 ชั่วโมง ระยะเวลาปฏิบัติงานหนัก ½ ชั่วโมง สามารถติดตั้งแขนกลได้หลายรูปแบบ และเปลี่ยนแขนกลได้ทันที หรือทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์สำรวจโดยไม่ติดตั้งแขนกลก็ได้
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาให้มีระบบ Interface ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยผู้ใช้งานให้สามารถควบคุมหุ่นยนต์ได้ง่ายขึ้น โดยระบบจะเป็นตัวสื่อสารแจ้งข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นให้ผู้ใช้งานทราบในเวลานั้น เช่น ปริมาณแบตเตอรี่ ท่าทางของแขนหุ่นยนต์ ภาพจากกล้องที่หุ่นยนต์ เป็นต้น โดยการแสดงข้อมูลต่าง ๆ นั้น จำเป็นต้องแสดงข้อมูลทั้งหมดให้ใกล้เคียงกับเวลาจริงมากที่สุด โดยระบบ Interface ถือเป็นระบบที่สำคัญ ต้องทำการออกแบบให้เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย และมีความน่าเชื่อถือ 
     จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และ บริษัท AVIA Group บริษัทอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ แห่งเดียวในประเทศไทย จึงร่วมมือกันก่อตั้งศูนย์วิจัยขึ้น ในนาม ศูนย์วิจัยนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน : Mahanakorn - Avia Sustained Innovation (MASI) เพื่อนำความรู้สู่ความยั่งยืน พัฒนาและยกระดับบุคลากรด้านการวิจัยและผลักดันงานวิจัยไทยสู่มาตรฐานสากลโลก
จากการก่อตั้ง ศูนย์ MASI นี้ ยิ่งเพิ่มความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาให้กับวิศวกรในการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดมากขึ้น เพื่อให้บรรลุความตั้งใจที่จะลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุด มาบัดนี้ ได้กำเนิดหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดรุ่นล่าสุดขึ้น ที่เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากการทดสอบใช้งานจริง การใช้ความรู้ความสามารถของเหล่าวิศวกร และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เกิดเป็นหุ่นยนต์แห่งความภาคภูมิใจรุ่นใหม่ล่าสุด และจะเปิดตัวในอีกไม่นานนี้ อยากให้รอติดตาม รับรองว่าจะพบกับหุ่นยนต์ที่ทันสมัย ใช้งานได้จริง และมีประโยชน์ อย่างที่ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อนอย่างแน่นอน







วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. ความหมายของระบบเครือข่าย 
ตอบ ระบบเครือข่าย (Networking) คือ ลักษณะวิธีการรูปแบบหรือข้อกำหนดในการทำให้คอมพิวเตอร์อุปกรณ์เครือข่ายสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้และสามารถที่จะเข้าใจความหมายของข้อมูลที่ได้รับมาอย่างถูกต้องมีความหมายครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์ซอฟท์แวร์และรูปแบบการสื่อสาร (Protocol)
ระบบเครือข่าย (Networking)


2.ระบบเครือข่าย

2.1 LAN

        LAN ย่อมาจาก Local Area Network คือระบบเครือข่าย แบบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด เช่น ในอาคารเดียวกัน หรือบริเวณเดียวกันที่สามารถลากสายถึงกันได้โดยตรง ส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ล หรือ ที่เรียกกันว่า สายแลน เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ อัตราเร็วของเครือข่าย  LAN อยู่ที่ระหวาง 1-100 Mbps ทั้งนี้ความเร็วขอมูลขึ้นอยู่กับ ตัวกลางสายส่งที่ใช้ เทคนิคการส่งสัญญาณ และข้อกำหนดของผู้ให้บริการเน็ตเวิร์ค


        การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ

            1.Bus มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ

            2.Star เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch จะทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจะสามารถใช้งานได้ปรกติ แต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ

            3.Ring เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่และระหว่างการส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ข้อมูลก่อนหน้านั้นถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน

        ข้อดีของระบบ LAN

            เนื่องจาผู้ใช้คอมพิเตอร์ในวง LAN เดียวกันสามารถใช้ทรัพยากรที่มีในวง LAN ร่วมกันได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสำหรับอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ หรือสแกนเนอร์ เป็นต้น การขนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องต่อเครื่องในระบบ ทำได้รวดเร็วกว่าการขนย้ายข้อมูลด้วยแผ่นดิสเก็ต เป็นระบบพื้นฐานในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต

        ข้อเสียของระบบ LAN

            ถ้าสายเคเบิ้ลขาดจะไม่สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้



2.2 MAN

        MAN ย่อมาจาก Metropolitan Area Network คือ  เครือข่ายระดับเมือง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มักเชื่อมโยงกันเฉพาะในเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ระบบเครือข่าย MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน เช่น เครือข่ายเคเ้บิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน
        ตัวอย่าง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษาหนึ่งๆ จะมีระบบ MAN เพื่อเชื่อมต่อระบบ LAN ของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่าย MAN ได้แก่ ATM, FDDI และ SMDS ระบบเครือข่าย MAN ที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max




2.3 WAN

        


           WAN เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกลซึ่งอาจมีพื้นฐานการเชื่อมต่อจาก LAN ภายในองค์กรแล้วขยายให้มีการเชื่อมต่อที่กว้างขึ้น ซึ่งระยะทางในการเชื่อมต่อกันนั้นจะไกลหลาย ๆ กิโลเมตร ดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชั่นและขนาดของข้อมูล ซึ่งวิธีการในการเชื่อมต่อกันจนเกิดเป็น WAN นั้นจะมีหลากหลายชนิดเช่น ISDN, Internet, ADSL, Frame Relay เป็นต้น ซึ่งจะมี Protocol หรือ รูปแบบในการสื่อสารที่สัมพันธ์กัน

            ทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN ล้วนแล้วแต่ใช้หลักการของแพ็กเกจสวิตชิ่ง กล่าวคือ มีการกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต โดยอุปกรณ์จุถูกำหนดให้มีแอดเดรสประจำ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย และทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายมีหลายประเภทโดยอุปกรณ์ แต่ละชนิดจะมีความสามารถแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหน้าที่และจำนวนอุปกรณ์ที่อยู่ภายในองค์กร


3.ทิศทางการสื่อสารข้อมูล

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล หมายถึง ทิศทางจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลโดยผ่านสื่อนำข้อมูล

ทิศทางการสื่อสารของข้อมูลแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ

1. แบบทิศทางเดียว (Simplex)หรือเรียกว่า การสื่อสารแบบทางเดียว (One-way Communication)เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้เช่น การกระจายเสียงจากสถานีวิทยุ การเผยแพร่ภาพและรายการต่างๆของสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น

 

 

 

 

2. แบบกึ่งสองทิศทาง ( Half Duplex)หรือเรียกว่า การสื่อสารแบบทางใดทางหนึ่ง (Either-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด

 

 

3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex)หรือเรียกว่า การสื่อสารแบบสองทาง (Both-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ โดยที่คู่สนทนาสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องกดสวิตซ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะก่อนที่จะสื่อสาร

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เทคโนโลยีการสื่อสาร

สื่อออนไลน์
     หากมองย้อนกลับไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงคำว่า “เครือข่ายสังคมที่เต็มไปด้วยกลุ่มวัยรุ่นที่ทำกิจกรรมติดต่อสื่อสาร พูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านความบันเทิง หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เน้นไปที่การกระจายตัว “ความเป็นเมือง” ไปยังพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง การค้าและบริการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการสื่อสารที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เราสามารถเข้าถึงบริการด้านข้อมูลข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารในยุคการเชื่อมต่อไร้สายผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้มากขึ้น

     ทั้งนี้ จากการประชุมวิชาการระดับชาติสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 11 เรื่อง “ความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558” โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2554 – 2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ากลุ่มที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มวัยรุ่น แต่มีการขยายตัวไปยังกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้นด้วย

ใครเป็นใครบนเครือข่ายสังคมออนไลน์
     ผลการวิจัยเรื่อง “ใครเป็นใครบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ : ความหลากหลายทางคุณลักษณะและพฤติธรรม” ของ ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า กลุ่มประชากรที่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มเยาวชน (อายุ 15 – 24 ปี) แต่มีการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ไปกลุ่มอื่นๆ อีกด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ
    ดร.ปิยวัฒน์ กล่าวว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมากลุ่มที่มาแรงที่สุด คือกลุ่มผู้สูงอายุ มีการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 95 ในการเข้าไปเป็นสมาชิกของสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ยังพบว่า การเพิ่มขึ้นของความถี่ในการเข้าไปใช้งานและระยะเวลาการใช้งานต่อช่วงวันเพิ่มขึ้นด้วย จากเดิมวันละ 1 ชั่วโมง เพิ่มเป็นสูงสุดวันละ 7 ชั่วโมง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เอนซีดี (NCDs) ที่เกิดจากการอยู่นิ่งๆ นานๆ
     ขณะที่วัตถุประสงค์การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการใช้เพื่อความบันเทิง ติดตามข้อมูลข่าวสาร และการสนทนา

ภัยร้ายออนไลน์ในวัยรุ่นไทย
     “เครือข่ายสังคมออนไลน์” กลายเป็นสังคมที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น และมีความหลากหลายทั้งในแง่คุณลักษณะทางเพศและอายุ ตลอดจนวัตถุประสงค์การใช้งาน ที่นับวันภาพของ “สังคมออนไลน์” ก็จะยิ่งสะท้อนภาพของคนใน “สังคมไทย” เข้าไปทุกที
     ขณะเดียวกัน ผลวิจัยเรื่อง “วัยรุ่นใช้สื่อออนไลน์อย่างไรในการหาคู่” ของ นิพนธ์ ดาราวุฒิมาประกรณ์ นักวิจัยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบความน่าเป็นห่วง คือกลุ่มวัยรุ่นใช้สื่อสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ไลน์ ในการหา “กิ๊ก” และคู่นอน โดยพฤติกรรมการมีแฟนและเพศสัมพันธ์แบ่งเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม คือ (1) มีแฟนทีละคนไม่มีกิ๊ก หรือกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้สื่อออนไลน์ในการพูดคุยกับเพื่อนทั่วไปเท่านั้น (2) มีแฟนและกิ๊กแต่จะมีเพศสัมพันธ์กับแฟนคนเดียว คือกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางในการคุยกับกิ๊ก แต่ไม่คุยเพื่อจะมีเพศสัมพันธ์ด้วย และไม่ใช้สื่อออนไลน์ในการหาคู่ (3) มีแฟนและกิ๊ก และมีเพศสัมพันธ์กับทุกคน และ (4) มีเพศสัมพันธ์กับใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องแฟนหรือกิ๊ก สองกลุ่มหลังนี้คือ กลุ่มที่ใช้สื่ออนไลน์ในการติดต่อกัน เพื่อนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ โดยวัยรุ่นชายจะใช้สื่อออนไลน์ในการหาคู่ชัดเจรกว่าวัยรุ่นหญิง อีกทั้งใช้เวลาพูดคุยทำความรู้จักไม่นานก่อนการมีเพศสัมพันธ์
     เจ้าของงานวิจัยเรื่อง “วัยรุ่นใช้สื่อออนไลน์อย่างไรในการหาคู่” ให้ความเห็นว่า โดยปกติแล้ว ผู้ชายส่วนใหญ่จะสามารถหาคู่ได้ง่ายกว่าผู้หญิง ผู้ชายสามารถมีเซ็กส์กับแฟนตัวเอง เพื่อนคนรู้จัก รวมทั้งพนักงานบริการ ขณะเดียวกัน ผู้หญิงสามารถมีเซ็กส์ได้กับแฟนตัวเอง สามี ส่วนคนรู้จักอาจถูกบังคับหรือไม่เต็มใจ ทั้งนี้ ผู้ชายจะมีความตั้งใจในการมีเซ็กส์มากกว่าผู้หญิง
 
ความขัดแย้งบนโลกออนไลน์ สู่โลกความเป็นจริง
    จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่เทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาอย่างก้าวล้ำ สื่อสังคมออนไลน์กลับส่งผลไปในการลบต่อชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์ของคนในสังคมอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น จนกลายเป็นประเด็นทางสังคม ที่ทั้งสื่อ กฎหมายและประชาชนเองจะต้องให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะกับกลุ่มวัยรุ่นที่ใช้เวลาไปกับสื่อออนไลน์วันละ หลายชั่วโมง จนอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง ทะเลาะวิวาท จนถึงขั้นทำร้ายร่างกายตามมา
     จากผลการวิจัยหัวข้อ “เหวี่ยง’ และ ‘วีน’ ออนไลน์… ความขัดแย้งและการวิวาทในสื่อสังคมของวัยรุ่น” ของผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ความขัดแย้งในกลุ่มวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนและคนรัก การแข่งขันในการเรียน และสถานภาพทางสังคม
     “การที่ไม่มีตัวตน หรือมีตัวตนซ่อนเร้นในโลกออนไลน์ ทำให้คนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นหรือแสดง ‘ความแรง’ ออกมาในสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะในสังคมวัยรุ่นสมัยนี้ที่มีการสื่อสารห้วนขึ้น สั้นขึ้น แรงขึ้น หรือวัฒนธรรมแบบสามคำสี่พยางค์ อย่างเวลาที่เราพูดห้วนๆ จะมีความแรงอยู่ด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การวิวาทง่ายขึ้น” ผศ.ดร. ภูเบศร์ กล่าวและว่า การทะเลาะวิวาท ในสังคมออนไลน์มีหลายกรณี เช่น “ทะเลาะในเฟซบุ๊กแล้วไปต่อในไลน์ หรือ ทะเลาะในไลน์แล้วไปต่อในต่อในเฟซบุ๊ก แล้วออกมาเคลียร์กันตัวต่อตัว” จากความรุนแรงทางความสัมพันธ์ในการสื่อสาร กลายเป็นความรุนแรงทางกายภาพ
     ด้านนายแพทย์อภิชาต จริยาวิลาศ จิตแพทย์โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้คำแนะนำว่า เพื่อป้องกันปัญหาที่ตามมา ควรระวังบุคคลที่จะสื่อสารด้วย เพราะอาจมีอาชญากรรมแฟงตัว และไม่ควรหมกมุ่นในการสื่อมากเกินไป
     อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราสามารถทำได้ในการป้องกันภัยที่มาจากสื่อสังคมออนไลน์ ก็คือการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy) โดยต้องเข้าใจสภาพของสื่อออนไลน์ว่าเป็นสังคมที่มีทั้งพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ เรียนรู้การสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์บนโลกออนไลน์กับชีวิตจริงว่า ความรอบคอบและมีสติทุกครั้งในการสื่อสารและแสดงความคิดเห็นต่างๆ บนโลกออนไลน์ คือวิธีป้องกันภัยร้ายได้อย่างดี

ข้อดีของสื่อออนไลน์

1.สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้

2.เป็นคลังข้อมูลความรู้ขนาดย่อมเพราะเราสามารถเสนอและแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ หรือตั้งคาถามในเรื่องต่างๆ เพื่อให้บุคคลอื่นที่สนใจหรือมีคาตอบได้ช่วยกันตอบ

3.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น สะดวกและรวดเร็ว

4.เป็นสื่อในการนาเสนอผลงานของตัวเอง เช่น งานเขียน รูปภาพ วีดิโอต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามารับชมและแสดงความคิดเห็น

5.ใช้เป็นสื่อในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือบริการลูกค้าสาหรับบริษัทและองค์กรต่างๆ ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า

6.ช่วยสร้างผลงานและรายได้ให้แก่ผู้ใช้งาน เกิดการจ้างงานแบบใหม่ๆ ขึ้น

7.คลายเครียดได้สาหรับผู้ใช้ที่ต้องการหาเพื่อนคุยเล่นสนุกๆ

8.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีจากเพื่อนสู่เพื่อนได้


ข้อเสียของสื่อออนไลน์

1. เว็บไซต์ให้บริการบางแห่งอาจจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป หากผู้ใช้บริการไม่ระมัดระวังในการกรอกข้อมูล อาจถูกผู้ไม่หวังดีนามาใช้ในทางเสียหาย หรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้

2. Social Network เป็นสังคมออนไลน์ที่กว้าง หากผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดวิจารณญาณ อาจโดนหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการนัดเจอกันเพื่อจุดประสงค์ร้าย ตามที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์

3. เป็นช่องทางในการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ขโมยผลงาน หรือถูกแอบอ้าง เพราะ Social Network Service เป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงาน รูปภาพต่างๆ ของเราให้บุคคลอื่นได้ดูและแสดงความคิดเห็น

4. ข้อมูลที่ต้องกรอกเพื่อสมัครสมาชิกและแสดงบนเว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networkยากแก่การตรวจสอบว่าจริงหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่กาหนดอายุการสมัครสมาชิก หรือการถูกหลอกโดยบุคคลที่ไม่มีตัวตนได้

5. ผู้ใช้ที่เล่น socialnetwork และอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจสายตาเสียได้หรือบางคนอาจตาบอดได้

6. ถ้าผู้ใช้หมกหมุ่นอยู่กับ socialnetwork มากเกินไปอาจทาให้เสียการเรียนหรือผลการเรียนตกต่าลงได้  

7.  จะทาให้เสียเวลาถ้าผู้ใช้ใช้อย่างไร้ประโยชน์


สรุป
     สุดท้ายแล้ว...สื่อจะมีประโยชน์ หรือไร้ประโยชน์ ขึ้นอยู้กับผู้ ใช้ ว่าจะใช้สื่อนั้น เพราะอะไร หรือเพื่ออะไร

 

ขอบคุณครับ

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

รายชื่อ สมาชิก ห้อง B

 รายชื่อสมาชิก การจัดการ 64 ( B )


อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค     อาจารย์ ปาล์ม

ลำดับที่                  ชื่อ สกุล                     ชื่อเล่น

   1.            พิสรรค์ ขุนทอง                        รอน

   2.            มุสลิม เจเพ็ง                            มุสลิม

   3.            มูฮันดิษ เกตุพจน์                     ดิส

   4.            มูฮัมหมัดบุคลิก เจะยอ            แหลม

   5.            รัชพล พรหมอินทร์                  ยิม

   6.            ลลิตา ขาเดร์                             ต้า

   7.            วนิดา พงค์ชูเกียรติ                  นะ

   8.            วาสนา สุขเกลี้ยง                     วาส

   9.            วิชญะ แก้วเกตุ                         ปัด

   10.           วีรากร รัตมนตรี                       อีฟ

   11.           ศตพร พรมทอง                       นีน

   12.           ศิวกร หนูอุไร                           ปอม

   13.           ศุภชัย ยิ่วอ่อน                         เวิลด์

   14.           สิทธิกร ดิษฐสุวรรณ               โก้

   15.          สุรชัย ลาวอือ                           ใฝ

   16.  

   17.           หนึ่งฤดี เดิมยิริง                      หนึ่ง

   18.           อดิศักดิ์ ขุนจง                         เหม

   19.           อนุสรณ์ แดงเย็น                    เต้ย

   20.           อรุณ ย่องสกุล                         จิ่ว

   21.

   22.           อามาล ดีสะเอะ                       อาร์ม

   23.           ฮัยกัลล์ สมัยอุดม                   กัล

   24.           ฮากีม มาหะมะ                        กิง

   25.           ฮาซัน สาเฮ๊าะ                        ซัน

   26.           วรวุฒิ บุญรัตนัง                     ก๊อป

   27.           อุทัย แก้วสวัสดิ์                     ต้อย

   28.           ธเนศ วิศวฤทธิ์                      ฟานดี้

  

 เครื่องค้้นกะทิ เคื่องคั้นกะทิแบบมือหมุน      ตัวเครื่องทำจากเหล็ก สามารถถอดออกทำความสะอาดได้  วิธีใช้ 1. วางกะทิลงในปล่องถาดที่วางไว้ 2. ค...